คำถามยอดฮิต
ผู้ต้องการใช้น้ำ ติดต่อขอแบบคำขอใช้น้ำประปา ได้ที่สำนักงานประปาทุกแห่ง หรือ Download จากเว็บไซต์ http://www.pwa.co.th/content/service/download/form แล้วยื่นแบบคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ที่สำนักงานประปาในพื้นที่ที่ขอใช้น้ำประปา
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วควรถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ไปด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งประปา ซึ่งมีชื่อผู้ขอใช้น้ำประปาเป็นเจ้าของบ้าน หรือเอกสารการขอเลขประจำบ้าน หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน/อาคาร หรือ หนังสือสัญญาเช่าบ้าน/อาคาร (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ในกรณี ที่ผู้ขอใช้น้ำไม่มีชื่ออยู่ในบ้านที่จะติดตั้งประปา จะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้าน ที่อยู่ปัจจุบันของผู้ขอใช้น้ำมาด้วย
ผู้ขอใช้น้ำประเภทหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การอื่น ๆ ที่ได้จดทะเบียนมีใบอนุญาตแล้ว ต้องให้หัวหน้าส่วนราชการ องค์การ หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นผู้ลงนามในแบบคำขอใช้น้ำประปา และสัญญาการใช้น้ำประปากับ กปภ.
ผู้ขอใช้น้ำประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ธนาคารพาณิชย์ โรงเรียนเอกชน และนิติบุคคลอื่นๆ ให้ผู้จัดการ หรือเจ้าของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นผู้ลงนามในแบบคำขอใช้น้ำประปา และสัญญาการใช้น้ำประปา กับ กปภ.
ผู้ขอใช้น้ำประปาอาจจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่น ไปทำการแทนได้ โดยต้องมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และ ปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ซึ่งผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำหลักฐานตามข้อ 1 และ 2 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงด้วย
การประปาส่วนภูมิภาคใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา เพื่อให้น้ำประปามีคุณภาพได้มาตรฐานน้ำดื่ม และมีความปลอดภัยต่อประชาชน น้ำประปาในบางพื้นที่อาจมีกลิ่นคลอรีนสูง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตจ่ายน้ำ แต่ขอให้มั่นใจว่าปริมาณคลอรีนที่ ผสมอยู่ในน้ำประปานั้น อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด กลิ่นคลอรีนในน้ำประปา แสดงถึงความปลอดภัยว่าน้ำประปาที่ส่งมาถึงบ้านท่าน สะอาดปราศจากเชื้อโรคแน่นอน จึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือทำให้เจ็บป่วย เมื่อดื่มน้ำประปาอีกด้วย
ท่านไม่คุ้นเคยกับกลิ่นคลอรีนที่เติมในน้ำประปา สามารถแก้ไขได้ง่ายนิดเดียว เพียงแต่นำน้ำประปาใส่ภาชนะที่สะอาด (ไม่ควรปิดฝามิดชิด) ตั้งทิ้งไว้ ประมาณ 1 คืน กลิ่นคลอรีนจะระเหยหมดไป ทั้งนี้ ภาชนะที่รองรับน้ำประปาต้องมี ความสะอาดด้วย จึงจะทำให้น้ำประปาที่เก็บไว้ มีความสะอาดเมื่อนำไปใช้
น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคที่ ผลิตจากโรงกรองน้ำทุกแห่ง มีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถดื่มได้ โดยปราศจากอันตราย ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของ องค์การอนามัยโลก (WHO) และเพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น กปภ. จึงรวมกับกรมอนามัย ประกาศรับรองพื้นที่โครงการ น้ำประปาดื่มได้ขึ้นปีละประมาณ 10 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการบริ โภคน้ำประปามากยิ่งขึ้น
การประกาศรับรองว่าน้ำประปาดื่มได้ จากกรมอนามัยนี้ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จากการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด และยังเป็นการลดปริมาณขยะจากขวดพลาสติก ตลอดจนเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในส่วนภูมิภาคอีกด้วย ในการดำเนินโครงการ กรมอนามัยจะเป็นผู้ตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาของ กปภ. อย่างละเอียด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดจะเก็บตัวอย่างน้ำประปาบริเวณต้นทาง ที่โรงกรองน้ำ และปลายทางของระบบจ่ายน้ำ หรือ บริเวณสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสดโรงเรียน สถานที่ราชการ เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพ ทางกายภาพเคมี และ แบคทีเรีย แห่งละ 2 ครั้ง ใช้ระยะเวลาห่างกันประมาณ 1-2 เดือน หากคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 2 ครั้ง ก็จะประกาศรับรองให้ เป็นพื้นที่น้ำประปาดื่มได้ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นพื้นที่ที่ได้ มีการปรับปรุงระบบท่อส่ง-จ่ายน้ำแล้ว
หลังจากประกาศรับรองพื้นที่น้ำประปาดื่มได้แล้ว จะยังคงมีการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ คุณภาพน้ำบริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำประปาในบ้านของผู้ใช้น้ำที่ อยู่ในเขตพื้นที่ น้ำประปาดื่มได้ มีคุณภาพดีตลอดเวลา อย่างไรก็ตามผู้ใช้ น้ำควรหมั่นตรวจสอบระบบท่อ อุปกรณ์ บ่อพักน้ำในบ้านอย่างสม่ำเสมอด้วยว่าอยู่ในสภาพดีตลอดเวลาเช่นกัน
อาจเกิดจากสภาพพื้นที่จ่ายน้ำที่เป็นเนินสูง ต่ำ ไม่เท่ากัน และมีการใช้น้ำประปาพร้อมกันในช่วง เช้า - เย็น จึงทำให้แรงดันน้ำประปาลดต่ำลงและไหลอ่อน หากผู้ใช้น้ำประสบปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนผิดปกติ โปรดแจ้งสำนักงานประปาในพื้นที่ ที่ท่านใช้ บริการทราบ
- หมั่นตรวจสอบท่อประปาและก๊อกน้ำภายในบ้าน หากผุกร่อนเป็นสนิมควรเปลี่ยนใหม่
- ไม่ควรติดเครื่องปั้มน้ำสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ เพราะหากมีท่อแตก-รั่ว เครื่องสูบน้ำจะดูดเอาสิ่งสกปรก เข้าไปในเส้นท่อด้วย
- เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำ ควรทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำ ตามที่ระบุไว้ เพราะเครื่องกรองน้ำอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ หากไม่ล้างทำความสะอาดตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
- ควรทำความ สะอาดถังเก็บน้ำหรือบ่อพักน้ำสม่ำเสมอ เพราะอาจมีสิ่งสกปรกเขาไปปะปนอยู่ในถังเก็บน้ำก็ได้
- ตรวจดูประตูน้ำทั้งด้านหน้าและด้านหลังมาตร วัดน้ำว่าเปิดอยู่หรือไม่
- สอบถามเพื่อนบ้านข้างเคียงว่าน้ำประปาไหล หรือไม่
- สอบถามไปยังสำนักงานประปาในพื้นที่ที่ท่านใช้บริการ
- ทุกบ้านควรมี ถังเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 500-1,000 ลิตร
ค่าน้ำสูงผิดปกติอาจเกิดจากการรั่วไหลภายในบ้าน ได้แก่ ท่อแตก-รั่ว อุปกรณ์สุขภัณฑ์รั่วไหลทำให้มาตรวัดน้ำ เดินตลอดเวลา จึงควรหมั่นตรวจสอบโดยการปิดก๊อกน้ำทุกตัว แล้วสังเกตดูการทำงานของมาตรวัดน้ำ หากมาตรยังเดินอยู่ แสดงว่ามีท่อรั่วภายใน ก็ให้รีบติดต่อช่างมาทำการซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว
กรณีผู้ใช้น้ำไม่ได้พักอาศัยอยู่เป็นประจำ ควรทำการปิดประตูน้ำหลังมาตรวัดน้ำไว้เสมอ หากมีท่อรั่วภายในบ้าน ก็จะไม่ต้องสูญเสียน้ำที่จะทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำสูงขึ้น
ช่องทางการชำระค่าน้ำประปาซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกสบายของลูกค้า
- สำนักงานประปาในพื้นที่ใช้บริการ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. (ป.บางสาขาเปิดให้บริการในวันหยุดด้วย ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ที่ ป.ในพื้นที่)
- หักบัญชีเงินฝากธนาคาร 14 แห่งทั่งประเทศ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ทหารไทย ธ.นครหลวงไทย ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ธนชาต ธ.ยูโอบี ธ.อิสลาม ธ.ทิสโก้ ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
Download แบบฟอร์มได้ที่นี่ | - ผ่านตัวแทนชำระค่าน้ำประปาตามจุดบริหารต่างๆ ได้แก่ 7-Eleven TESCO LOTUS "PAY AT POST" "JUST PAY" "JAY MART PAY POINT" True Money/True Express "PAY STATION" 108 shop
- ชำระผ่านตู้ ATM ธ.ไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ
- ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์
- ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
- ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารทหารไทย
- ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
หมายเหตุ ในข้อ 2 - 8 ผู้ใช้น้ำเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ต่อ 1 ใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา
แจ้งน้ำไม่ไหล ท่อแตก ท่อรั่ว รับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ประปารังสิต-ปทุมธานี โทร 0-2981-8945-50
ในพื้นที่ประปาอ้อมน้อย-สามพราน-สมุทรสาคร โทร 0-2814-0061,0-2814-0420
Email : hotline@uu.co.th
Website : http://www.uu.co.th
ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำไม่ได้ รับความสะดวกในด้านบริการ หรือมีความประสงค์ ที่จะแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการของ กปภ. ท่านสามารถดำเนินการได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
- สอบถามรายละเอียดหรือแจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ได้ โดยตรงกับพนักงานประปา ผู้จัดการประปา หรือผู้อำนวยการเขตที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่นั้นๆ ได้ทันที หรืออาจใช้วิธีการพูดคุยทางโทรศัพท์ หรือติดต่อที่สำนักงานประปาก็ได้
- ส่งจดหมายแสดงข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะมาได้ที่ ตู้ ปณ. 67 ปณจ.หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ซึ่ง กปภ. ได้จัดเตรียมไว้เพื่อรับข้อคิดเห็นจากประชาชนโดยเฉพาะ
- ผู้ใช้น้ำสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ความคืบหน้าของ กปภ. และร้องเรียนเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตลอด 24 ชม. ที่ http://www.pwa.co.th/complain
- ในกรณีที่พบเห็นท่อประปาแตกรั่ว กรุณาแจ้งให้ สำนักงานประปาที่ให้บริการทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขในทันที หรือแจ้งที่หมายเลขโทรศัพท์ 1662
- การใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1662 แจ้งท่อแตก ท่อรั่ว ในส่วนภูมิภาค ผู้รับแจ้งอาจเป็นพนักงานประปาที่ไม่ใช่ พนักงานในพื้นที่ที่มีท่อแตกรั่วก็ได้ จึงขอให้ผู้แจ้งระบุพื้นที่ใช้บริการของสำนักงานประปาด้วย เมื่อพนักงานได้รับเรื่องแล้วจะได้ประสานงานภายใน กปภ. เพื่อแจ้งสำนักงานประปาที่รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขโดยด่วนต่อไป
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกัน การใช้น้ำประปาคืน มีดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัว ข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐของผู้ใช้น้ำ
- ใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำประปา (ถ้ามี)
- ใบเสร็จค่าน้ำประปาครั้งสุดท้าย หรือสำเนา (ถ้ามี)
ผู้ใช้น้ำประปาอาจจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่น ไปทำการแทนได้ โดยต้องมีผูลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำหลักฐาน ตามข้อ 1-3 และหลักฐานของผู้รับมอบอำนาจไปแสดงด้วย เมื่อท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อสำนักงาน ประปาในพื้นที่ ของท่านและเขียนคำร้องขอเลิกใช้น้ำประปา สำนักงานประปา จะตรวจสอบดูว่าท่านมียอดค้างชำระค่า น้ำประปาอยู่หรือไม่ หากไม่มีค่าน้ำประปาค้างชำระก็จะได้รับเงินประกันการใช้น้ำคืนเต็มตามจำนวน แต่หากมี ค่าน้ำค้างชำระ สำนักงานประปาจะหักจากเงินประกันการใช้น้ำและคืนเงินในส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ใช้น้ำ
- การละเมิดการใช้น้ำประปา เช่น การต่อท่อประปาตรงโดยไม่ผ่านมาตรวัดน้ำ/การลักใช้น้ำ ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ทำให้มาตรวัดน้ำ วัดค่าผิดไปจากการใช้น้ำประปาจริงๆ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เท่ากับเป็นการลักทรัพย์และ ทำให้เสียทรัพย์ของ กปภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และทางอาญา
- กรณีมาตรวัดน้ำชำรุดหรือต้องการย้ายมาตรวัดน้ำ ผู้ใช้น้ำต้องแจ้งให้สำนักงานประปาทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อสำนักงานประปา จะได้เข้าไปทำการซ่อมแซมแก้ไขต่อไป
- หากพบข้อชำรุด/บกพร่อง เช่น การแตกรั่วขอเส้นท่อภายนอกมาตรวัดน้ำ โปรดแจ้งให้สำนักงานประปาทราบ เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขต่อไป
- ผู้ใช้น้ำไม่ควรติดตั้งปั๊มน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ ควรปล่อยให้น้ำประปาลงบ่อพักน้ำเสียก่อน แล้วจึงสูบน้ำขึ้น จากบ่อพักไปใช้ การติดตั้งปั๊มน้ำ โดยตรงจากเส้นท่อ อาจทำให้ท่อ และมาตรวัดน้ำชำรุดได้ง่าย รวมทั้งเป็นการทำให้ผู้ใช้น้ำรายอื่นเดือดร้อนด้วย การมีถังหรือบ่อพักน้ำสำรองในบ้าน ประมาณ 500 - 1,000 ลิตร จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า ท่านมีน้ำประปาใช้ตลอดเวลา ถึงแม้จะมีท่อประปาแตกอยู่นอกบ้านก็ตาม
- ผู้ใช้น้ำจะต้องไม่กระทำการซ่อมแซม แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดกับมาตรวัดน้ำ ประตูน้ำ ( วาล์ว ) หรือท่ออุปกรณ์นอกมาตรวัดน้ำเป็นอันขาด
- กรณีที่ลวดหรือวัตถุใดๆที่ กปภ. ได้ทำการตีตราผนึกไว้ที่ตัวมาตร หรือประตูน้ำ เกิดชำรุดเสียหายหรือสูญหายไป รวมทั้งตัวมาตรวัดน้ำ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ใดก็ตาม ผู้ใช้น้ำ จะต้องแจ้งให้สำนักงานประปาทราบโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกิน 3 วัน
- ผู้ใช้น้ำจะต้องชำระเงินค่าน้ำ ค่าบริการอื่นๆและค่าเสียหายทันทีที่พนักงาน กปภ. ได้นำใบเสร็จรับเงิน หรือใบแจ้งหนี้ขอเก็บเงิน มิฉะนั้นผู้ใช้น้ำจะต้องนำเงินไปชำระที่สำนักงานประปา ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือเตือน หากพ้นกำหนด ผู้ใช้น้ำยังไม่ไปชำระ กปภ. จะงดจ่ายน้ำ ( ตัดมาตรวัดน้ำ )
- การชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ใช้น้ำจะต้องขอรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
- เมื่อมีกลุ่มบุคคลใดมาติดต่อรับจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขมาตรวัดน้ำหรืออุปกรณ์ประกอบ โปรดแจ้งให้ สำนักงานประปาในพื้นที่ของผู้ใช้น้ำทราบทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาผลประโยชน์ และทรัพย์สินของทางราชการ สำหรับกลุ่มบุคคลที่อ้างตนเป็นพนักงาน กปภ. มาติดต่อกับผู้ใช้น้ำครั้งใดก็ตาม ขอให้ผู้ใช้น้ำตรวจสอบหนังสือแนะนำตัว ของพนักงานในการเข้ามาตรวจสอบมาตรวัดน้ำ เช่น บัตรประจำตัวพนักงาน กปภ. โดยการจดเลขที่บัตร ชื่อ สกุลไว้ ก่อนที่จะให้พนักงานเข้าทำการตรวจสอบมาตรวัดน้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกล่าวอ้างเป็นพนักงาน กปภ.