ภารกิจและหน้าที่ของ กปภ

  • 1.ภารกิจ และหน้าที่

    1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบและ จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ (Conducting surveys,providing sources of the water and procuring raw water for production)
    2. ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา ทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพฯ,นนทบุรี และสมุทรปราการ (Producing ,delivering and distributing water supply across the country except ฺBangkok Metropolitan area Nonthaburi and Samut Prakan Province.)
    3. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา (Undertaking other businesses related to or in continuation with the water supply business.)
  • 2.วิสัยทัศน์ของ กปภ.

    มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศและยั่งยืน ด้านการให้บริการและบริหารจัดการน้ำประปา (Leading to be a high performing and sustainable organization with excellent waterworks services)
  • 3.ค่านิยมองค์กร และพฤติกรรมตามค่านิยม 15 ประการ

    มุ่ง - มั่น - เพื่อปวงชน - สู่ความยั่งยืน
    มุ่ง หมายถึง มุ่งเน้นคุณธรรม :
    1. ปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม
    2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใส
    3. ปกป้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กร

    มั่น หมายถึง มั่นใจคุณภาพ :
    1. ควบคุมคุณภาพการทำงานและสร้างมูลค่าเพิ่ม
    2. บริหารจัดการความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลสำเร็จของงาน
    3. ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
    4. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลสำเร็จของงาน
    5. พัฒนาการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
    6. ทำงานเป็นทีม

    เพื่อปวงชน หมายถึง เพื่อสุขของปวงชน :
    1. รับฟังและเข้าใจความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    2. สร้างความประทับใจให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกจุดการให้บริการ
    3. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

    สู่ความยั่งยืน หมายถึง สู่องค์กรที่ยั่งยืน :
    1. ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน
    2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน
    3. สร้างจิตสำนึกการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • 4.วัฒนธรรมองค์กร

    STRIVER (ผู้มีความมุ่งมั่น ไม่ท้อถอย)
    S Synergy (ทำงานเป็นทีม) ร่วมพลังเพื่อผลสำเร็จขององค์กรสู่ความยั่งยืน
    T Transparency (โปร่งใส) ปฏิบัติงานตามกฎหมาย มีคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใสและ
    มุ่งปกป้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กร
    R Responsibility (มีความรับผิดชอบ) - รับผิดชอบต่องานในหน้าที่ เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า
    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
    - บริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน
    I Innovation and Digitalization
    (สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่ดิจิทัล)
    พัฒนาความรู้สู่ความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดนวัตกรรม
    ควบคุมคุณภาพและปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล
    V Visionary (มองการณ์ไกล) มองการณ์ไกล สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างจิตสำนึกในการกำกับดูแล
    กิจการที่ดีนำสู่ความยั่งยืน
    E Empathy (ใส่ใจต่อลูกค้า) ใส่ใจต่อลูกค้าและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน
    R Relation
    (สร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
    สร้างความสัมพันธ์อันดีให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประทับใจและ
    ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  • 5.พันธกิจ

    กปภ. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตาม พ.ร.บ. กปภ. พ.ศ. 2522 โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ พันธกิจหลักของ การประปาส่วนภูมิภาค มี 5 ประการ ได้แก่
    1. ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอและทั่วถึง
    2. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ
    3. จัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปา
    4. ส่งเสริมธุรกิจการประปา
    5. ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับ หรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา
  • 6. วัตถุประสงค์หลักขององค์กร

    1. สำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ เพื่อใช้ในกิจการประปา
    2. ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศในส่วนภูมิภาค และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา
    3. ให้บริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการขอติดตั้งประปาให้แก่ประชาชน
    4. ขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาใช้อย่างทั่วถึง
  • 7. โอกาส

    1. สามารถให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็วกว่าและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้เอกชนมาร่วมดำเนินงานกับรัฐ
    2. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงได้รับความเชื่อถือจากผู้ใช้น้ำในด้านประสิทธิภาพ และคุณภาพของน้ำประปามากกว่าน้ำประปาที่ผลิตโดยเอกชนรายย่อย หรือที่ผลิตโดยประปาส่วนท้องถิ่น
    3. สามารถแตกแขนงกิจการได้ เช่น ก่อตั้งบริษัทร่วมลงทุนในการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด หรือขายส่งน้ำดิบให้อุตสาหกรรม เป็นต้น
    4. รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมการกระจาย อุตสาหกรรมภาคต่างๆ ไปยังส่วนภูมิภาค ทำให้มีความต้องการน้ำประปาสูงขึ้นในภูมิภาคต่างๆ
    5. รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินงบประมาณ เพื่อการจัดหาน้ำสะอาดไปสู่ภูมิภาค และ พื้นที่ชนบทเพิ่มมากขึ้น
    6. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดความขยายตัวของชุมชนเมืองมากขึ้น ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำอุปโภค บริโภค จึงเพิ่มสูงขึ้น
  • 8. ข้อจำกัด

    1. พื้นที่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่กระจัดกระจายและห่างไกลกัน ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน และการลงทุนในการวางท่อและสรรหาแหล่งน้ำ
    2. ฐานะการเงินของ กปภ. มีขีดจำกัด ทำให้ขยายงานไม่ได้ตามความต้องการของประชาชน การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้เอกชนเข้ามาดำเนินการในบางกิจกรรม
    3. บุคลากรเฉพาะด้าน มีไม่เพียงพอกับการดำเนินงานตามแผน เนื่องจากอัตราค่าจ้างไม่จูงใจ มีระบบค่าตอบแทนต่ำ
    4. ปริมาณน้ำสูญเสียในเกณฑ์สูงเนื่องจากการปรับเปลี่ยนท่อเก่า หรือวางท่อใหม่ในชุมชนจ่ายน้ำเดิมไม่สามารถดำเนินการได้ในคราวเดียวกัน จำเป็นต้องทยอยเปลี่ยนเพื่อให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำเดิมน้อยที่สุด กระบวนการลดน้ำสูญเสียจำเป็นต้องมีมาตรการตรวจสอบและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นภาระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประปาที่มีท่อเก่าเป็นจำนวนมากหรือมีจำนวนพนักงานไม่พอกับการบำรุงรักษาท่อจ่ายน้ำ
    5. อัตราค่าน้ำประปาปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุน และยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปตามปัจจัยแวดล้อมที่แท้จริง
    6. การดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาคไม่คล่องตัว เนื่องจากมีกฏระเบียบที่ใช้ปฏิบัติเช่นเดียวกับภาคราชการ
    7. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมและจัดสรรการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ทำให้แหล่งน้ำเหล่านั้น มีปริมาณ และคุณภาพด้อยลง รวมทั้งหายากขึ้นในอนาคต
    8. ประชาชนขาดความเข้าใจในงานบริการขององค์กรที่มีภารกิจสองด้าน คือ การบริการสังคมที่เน้นความผาสุกของประชาชน กับการบริการเชิงธุรกิจที่ต้องจัดการให้สามารถเลี้ยงตนเอง รวมทั้งขยายกิจการในอนาคต
เลื่อนขึ้นข้างบน