ประวัติ กปภ.

1.ประปาประเทศไทย

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลจัดการ ที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนคร ตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ การที่จะต้องทำ นั้นคือ
  1. ให้ตั้งทำที่ขังน้ำที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี อันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้นถึงทุกฤดู
  2. ให้ขุดคลองแยกจากที่ขังน้ำนั้น เป็นทางน้ำลงมาถึงคลองสามเสนฝั่งเหนือ ตามแนวทางรถไฟ
  3. ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ที่ตำบลนั้น สูบน้ำขึ้นยังที่เกรอะกรองตามวิธี ให้น้ำสะอาดบริสุทธ์ ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรค แล้วจำหน่ายน้ำไปในที่ต่างๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร กิจการอย่างนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกตามภาษาสันสกฤตเพื่อจะให้เป็นคำสั้นว่า "การประปา"

จากหลักฐานทางโบราณคดี มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้กลางใจเมือง ดังคำจารึกในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 2 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงจารึกว่า "...กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพย สีใสกินดี ...ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้..."

(คำว่า "ตระพังโพย" หมายถึง บ่ออัศจรรย์เข้าใจว่าบ่อนี้มีน้ำใช้ได้ ตลอดปี) นับจากนั้น ในสมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง ก็ทรงโปรดให้มีการขุดคูคลองเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ และ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในการใช้น้ำอุปโภคและบริโภคอีกประการหนึ่งด้วย จวบจนกระทั่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชประสงค์ที่จะให้เมืองลพบุรี ได้ทรงพิจารณาเรื่องน้ำบริโภคเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก โปรดเกล้าให้มีการดำเนินการขุดทำนบกั้นน้ำในทะเลชุบศร สร้างเป็นเขื่อนเก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี มีการวางท่อดินเผาจากทะเลชุบศรไปสู่สระที่พักน้ำมีชื่อว่า สระแก้ว 2 แห่ง แล้ววางท่อขนาดใหญ่เข้าสู่เมืองลพบุรีแจกจ่ายไปตามสถานที่ สำคัญ ๆ เช่น พระราชวังบ้านหลวงรับราชฑูต วัดในพระพุทธศาสนา และโรงทาน สำหรับประชาชน เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏ จึงพอสรุปได้ว่า วิวัฒนาการในการจัดระบบการวางท่อจากแหล่งน้ำมาสู่เมือง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.2325 ในสมัยแรก การใช้น้ำยังคงอาศัยน้ำจากแม่น้ำลำคลอง และน้ำฝนเป็นน้ำอุปโภคบริโภค ในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าให้มีการขุดคูคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมากมายให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดำริ การหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนคร เพื่อให้บรรดาพสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ ปราศจากโรคภัยร้ายแรงด้วย ทรงเล็งเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำ ซึ่งปราศจากความสะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับต่ำ ทำให้น้ำทะเลเข้ามาถึง น้ำจะมีรสกร่อยไม่เหมาะสำหรับการบริโภค และน้ำก็มีแนวโน้มที่จะทวีความสกปรกเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากสภาพการขยายตัวของชุมชน และบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้สภาพการใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง เป็นบ่อเกิดของโรคระบาดได้ประกอบกับ ได้ทรงพบเห็นความเจริญก้าวหน้า ในด้านวิทยาการต่างๆ ของการผลิตและการจำหน่ายน้ำจากต่างประเทศ เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ปี พ.ศ. 2440 ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมสุขาภิบาลเป็นหน่วยงาน รับสนองพระราชดำริ

ในสมัยนั้นกรุงเทพฯ มีประชากรราว 333,000 คน อยู่ทางฝั่งพระนครประมาณ 280,000 คน อยู่ทางฝั่งธนบุรีประมาณ 50,000 คน ต่างได้อาศัยน้ำฝนที่รองจากหลังคา มาใช้ดื่มกิน แต่ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากแม่น้ำ และลำคลองต่าง ๆ ซึ่งมีมากมาย จนได้ชื่อว่าเวนิสตะวันออก หรือใช้น้ำบ่อ น้ำจากร่องสวน เป็นต้น

ย่านคนจีนที่สำเพ็ง มีการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยไม่ได้เกรอะกรองมาใช้ตามบ้านเรือนต่างๆ และชาวบ้านที่มีฐานะปานกลาง ก็ใช้วิธีตักน้ำขึ้นมาแกว่งสารส้ม นอกจากนี้ ก็มีการใช้น้ำบาดาลบ้าง แต่ไม่มากนัก ในฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำจะกร่อย และสกปรกไม่ปลอดภัย สำหรับอุปโภค และบริโภค บางครั้งมีอหิวาต์ตกโรคระบาด ประชาชนล้มตายเป็นอันมาก คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า มีห่าลงมากิน ดังนั้นในตอนกลางคืน จึงไม่มีใครกล้าออกจากบ้านในตัวเมืองจะเงียบ วังเวง น่ากลัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวัง สำหรับแจกอาหาร และน้ำสะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นเพื่อจัดทำน้ำประปาให้ประชาชนใช้ เมื่อ ปีพุทธศักราช 2440

กรมสุขาภิบาลได้จ้างผู้ชำนาญชาวฝรั่งเศสชื่อนายเดอลาโรเตียร์ (De La Rotier) มาสำรวจเพื่อจัดหาน้ำมาใช้ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้เสนอแนะไว้หลายอย่าง แต่ นายแวนเดลไฮด์ นายช่างฝรั่งรับราชการอยู่กรมคลองกระทรวงเกษตราธิราช ได้ เสนอความเห็นแย้งอย่างแข็งขันว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะจะมาขัดขวางด้วยเรื่องทดน้ำ สำหรับการเพาะปลูก ได้มีบันทึกโต้แย้งกันไปมา เป็นเวลาถึง 2 ปี ในที่สุดเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาลสมัยนั้น ได้จัดให้นายช่างทั้ง 2 จึงได้ตกลงกันว่าจะทำ ทำนบกั้นแม่น้ำที่ชัยนาท แล้วขุดคลองลงมายังสามเสน เพื่อนำน้ำมาใช้ แต่เพื่อไม่ให้เสียเวลา จึงทำการกั้นแม่น้ำน้อย หรือคลองบางหลวงเชียงราก หรือ คลองเชียงรากในปัจจุบัน อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยากักน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำ หรือ คลองขัง โดยทำเขื่อนกั้นหัวท้าย ทำประตูให้เรือผ่าน เข้า ออก ได้ทางเชียงราก (ภาพประกอบ) แล้วขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับ วัดสำแล (ภาพประกอบ) เหนือตัวจังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบันขึ้นไป 3 กิโลเมตรเศษ หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 41 กิโลเมตร อันเป็นบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นไปไม่ถึง

ทุกฤดูกาล เข้ามาบรรจบคลองขังหรือคลองบางหลวงเชียงราก โดยที่ปากคลองมีประตูระบายน้ำ ซึ่งจะเปิดรับน้ำเมื่อเวลาน้ำขึ้น และปิดเมื่อเวลาน้ำลง โดยอาศัยการต่างระดับของน้ำในคลองแล้วยังขุดคลองคู่ขนานให้เรือผ่านสัญจรไปมาได้อีกคลองหนึ่งเรียกว่า คลองอ้อมไปบรรจบกับคลองบ้านพร้าวออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่เหนือขึ้นไป (แผนที่ประกอบ) และในระยะหลังต่อมา ได้มีการขุดคลองบางสิงห์ และ คลองบางหลวงหัวป่า ก็ไปเชื่อมกับเปรมประชากร และคลองระพีพัฒน์ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางประอิน เข้ามาบรรจบกับคลองขัง เมื่อมีการผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้น คลองขัง หรืออ่างเก็บน้ำนี้ (ภาพประกอบ) ยาว 8 กิโลเมตร กว้าง 60-100 เมตร ลึกตั้งแต่ 2-6 เมตร กักเก็บน้ำได้ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร จะระบายน้ำไปยังสามเสนวันละ 2 แสนลูกบาศก์เมตร โดยอาศัยการขึ้นลงของน้ำในคลอง คลองขังนี้ ยังอนุญาตให้ประชาชนปลูกเรือนอาศัยอยู่ได้ เพราะหากจะให้อพยพออกไป จะต้องจ่ายค่าชดเชยในการรื้อถอนโรงเรือนเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่มาก ในสมัยนั้น จึงใช้วิธีเจือคลอรีนลงในน้ำบริสุทธิ์แทน

จากคลองขังได้ขุดคลองประปา จากตำบลบางพูนเลียบทางรถไฟ ขนานกับ คลองเปรมประชากร มายังโรงกรองสามเสนยาวประมาณ 25 กิโลเมตร กว้าง 14 เมตร และวัดที่ระดับพื้นน้ำได้ 13 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร ทางปลายคลองที่สามเสนมีประตูระบายน้ำ เปิดลงคลองสามเสนได้เวลาน้ำในคลองสามเสนลดลงประตูน้ำจะเปิดให้น้ำไหลออกจากคลองประปา ไปลงคลองสามเสน และ เวลาน้ำในคลองสามเสนขึ้น จะดันประตูน้ำปิดเข้ามากันไม่ให้น้ำโสโครกไหลเข้ามาในคลองประปาได้ การนี้น้ำในคลองประปาจะไหลอยู่เสมอไม่เกิดน้ำตาย น้ำไม่เน่าเสียน้ำจะมีคุณภาพดี และการที่น้ำไหลผ่านคลองยาวถึง 25 กิโลเมตรนี้ ได้มีโอกาสสัมผัสกับอากาศ และแสงแดด ทำให้น้ำสะอาดขึ้น สองข้างคลองมีคันดินกันไม่ให้น้ำจากเรือกสวนไร่นา หรือ จากถนนไหลลงมาในคลองประปา ในปัจจุบันได้ทำเขื่อนกั้นจากสามเสน เป็นแนวยาวตลอดไปจนถึงโรงกรองน้ำบางเขน นอกจากนี้ ได้ทำท่อลอดลอดใต้คลองรังสิต คลองบางเขนที่หน้าโรงเรียนเพชรรัตน์ และคลองเปรมประชากรที่บางซื่อ รวม 3 แห่ง และ ที่ตำบลบ้านใหม่ ได้ทำท่อลอดลอดใต้คลองประปา เพื่อให้น้ำจากคลองบ้านใหม่ไหลผ่านไปมาใช้น้ำทำนาได้อีก 1 แห่ง ได้ทำสะพานให้คน สัตว์ และยานพาหนะข้ามรวม 12 สะพาน ได้พระราชบัญญัติห้ามลงไปจับสัตว์น้ำ ตกปลา อาบน้ำ ซักล้างเสื้อผ้า หรือทิ้งสิ่งโสโครกลงไปในคลองโดยเด็ดขาดมีโทษปรับอย่างแรง

ได้สร้างที่ทำการสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาคลองไว้รวม 7 แห่ง คือที่ตำบลสำแล เชียงราก รังสิต สกัน บางเขน บางซื่อ และสามเสน เป็นอาคารทรงฝรั่งแบบโบราณชั้นเดียว กระทัดรัด น่าอนุรักษ์ไว้ และมีนายตรวจคอยตรวจคลองตลอด 24 ชั่วโมง มีที่ทำการใหญ่อยู่ที่เชียงราก มีโทรศัพท์ติดต่อกับที่ทำการสะพานดำโดยตรง โดยวางสายโทรศัพท์ของประปาเอง ใช้แบตเตอรี่เป็นถ่านไฟฉายขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางราว 3 นิ้ว สูงประมาณ 8 นิ้ว 3 ก้อน เป็นเครื่องป้อนกระแสไฟฟ้าให้ทำงานได้ ต่อมาได้ติดตั้งโทรศัพท์เพิ่มขึ้น ตามที่ทำการรักษาคลองทั้ง 7 แห่ง กำหนดรหัสสั้นยาว หมุนเรียกกันได้เช่น ยาวครั้งเดียว หมายถึง ประปาสะพานดำ ยาวสั้น หมายถึง สามเสน สั้นยาว หมายถึง เชียงราก เป็นต้น การขุดคลองนี้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2456

นอกจากนี้ ได้วางท่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.10 เมตร จากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำสามเสน มาตามถนนนครไชยศรี มายังถนนคันคลองประปา ข้างโรงกรองน้ำสามเสน ไว้นำน้ำจากแม่น้ำมาใช้เมื่อเวลาฉุกเฉิน เมื่อคลองส่งน้ำจากเชียงรากชำรุด หรือ หยุดซ่อมแซม เช่นซ่อมท่อไซฟอนหรือท่อลอด และหยุดซ่อมคลองที่เชียงราก เป็นต้น จะได้มีน้ำใช้ 2 ทาง คงสูบน้ำได้เสมอ ท่อนี้ฝังอยู่ใต้ดินมีช่องทางขึ้นลง สำหรับตรวจตรา หรือลงไปทำความสะอาดทำไว้เป็นระยะๆ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ชำรุดเสียหาย และเลิกใช้ไปเมื่อไม่นานนี้ และในโรงกรองมีอ่างขังน้ำไว้สำหรับล้างท่อนี้ด้วย

การซื้อที่ดิน ได้จัดการซื้อที่ดินที่สร้างโรงสูบน้ำและโรงกรองน้ำตำบลสามเสน ซื้อที่ทำถนนเข้าโรงสูบโรงกรอง ตั้งแต่ถนนสามเสนถึงคันคลองประปา เพื่อวางท่อส่งน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาที่โรงกรองซื้อที่ดินขุดคลองส่งน้ำจากโรงกรองน้ำสามเสนขึ้นไปถึงคลองเชียงราก และซื้อที่บริเวณปากคลองเชียงรากด้านใต้ และตำบลเหนือบ้านกะแชง เพื่อทำประตูน้ำรวมเป็นที่ดินที่ซื้อไป 1,097 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา ราคาเฉลี่ยตารางวาละ 30 สตางค์ และมีผู้ยกให้ช่วยราชการ 33 ราย รวม 24 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา มีอาทิหลวงสุนทรโกษา นางพริ้ง อำแดงเจียก เม้ยฝอย เป็นต้น

สำหรับการสร้างอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงกรองน้ำสามเสนมีดังนี้

โรงสูบน้ำ กว้าง 9.50 เมตร ยาว 34 เมตร เป็นอาคารตึกชั้นเดียว ใต้พื้นมีช่องเป็นที่วางท่อน้ำและสายไฟ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดิบขนาด 60 แรงม้า สูบน้ำได้ วินาทีละ320 ลิตรใช้ไฟ 3,500 โวลท์ 50 ไซเคิล จำนวน 2 เครื่องปกติใช้งาน 1 เครื่อง สำรอง 1 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบจ่ายน้ำประปาขนาด 160 แรงม้า สูบน้ำ ได้วินาทีละ 250 ลิตร จำนวน 3 เครื่อง ในเวลากลางวันจะใช้งาน 2 เครื่อง กลางคืน 1 เครื่อง และไว้สำรอง 1 เครื่อง มีเครื่องทำลมสำหรับประกอบการเดินเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ขนาด 3.5 แรงม้า ใช้ไฟ 100 โวลท์เครื่องสูบน้ำเหล่านี้เป็นของห้างซูลเซอร์บราส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีเครื่องวัดปริมาณน้ำหรือเวนจูรี 2 ชุด

สำหรับไฟฟ้าในระยะแรก ๆ ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ทำไฟขึ้นเพื่อจะใช้เอง แต่ต่อมาได้ใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าสามเสนอยู่ที่ถนนสามเสน ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2457 และในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ระหว่างปีพุทธศักราช 2484 ถึง 2488 โรงไฟฟ้าสามเสนถูกระเบิดทำลายเสียหายใช้การไม่ได้ จึงได้ใช้ไฟฟ้าจากโรงเบียร์บุญรอด และ จากทหารเรือที่บางนา ทำให้ผลิตน้ำประปาใช้ได้ตลอดเวลา ไม่ขาดแคลนตลอดสมัยสงคราม

การสูบจ่ายน้ำในระยะแรก ๆ ปรากฏว่าสูบได้ถึง 3-4 ทุ่มแรงดันน้ำจะสูงถึง 38 เมตร ขึ้นเก็บไว้ในถังสูงที่สะพานดำจนเต็มก็ยังสูบได้อีกแต่ไม่มีที่เก็บจึงต้องหยุดสูบ และมาเดินต่อในตอนเช้า เครื่องจ่ายสารส้ม มีถังไม้บรรจุสารส้ม 3 ถัง (ภาพประกอบ) เป็นของส่งมา จากนอกตั้งไว้บนชั้น 3 ของโรงเกรอะเข้าใจว่าเป็นถังหมักองุ่น ทำไว้ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1851 เอามาทำเป็นละลายสารส้มสามารถทนการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีมีเครื่องจ่าย 1 ชุด รูปร่างเป็นกรวยมี 6 กรวยแล้วมีท่อต่อจากถังสารส้มมา มีก๊อกบังคับตั้งอัตราไหลได้เพื่อจ่ายไปยังท่อน้ำดิบก่อนเข้าถังเกรอะ มีเครื่องทำลม สำหรับละลายสารส้ม 1 ชุด

ได้สร้างที่ทำการสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาคลองไว้รวม 7 แห่ง คือที่ตำบลสำแล เชียงราก รังสิต สกัน บางเขน บางซื่อ และสามเสน เป็นอาคารทรงฝรั่งแบบโบราณชั้นเดียว กระทัดรัด น่าอนุรักษ์ไว้ และ มีนายตรวจ คอยตรวจคลองตลอด 24 ชั่วโมงมี ที่ทำการใหญ่อยู่ที่เชียงราก มีโทรศัพท์ติดต่อกับที่ทำการสะพานดำโดยตรง โดยวางสายโทรศัพท์ของประปาเอง ใช้แบตเตอรี่เป็นถ่านไฟฉายขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางราว 3 นิ้ว สูงประมาณ 8 นิ้ว 3 ก้อน เป็นเครื่องป้อนกระแสไฟฟ้าให้ทำงานได้ ต่อมาได้ติดตั้งโทรศัพท์เพิ่มขึ้นตามที่ทำการรักษาคลองทั้ง 7 แห่ง กำหนดรหัส สั้นยาวหมุนเรียกกันได้เช่น ยาวครั้งเดียว หมายถึง ประปาสะพานดำ ยาวสั้น หมายถึง สามเสน สั้นยาว หมายถึง เชียงราก เป็นต้น การขุดคลองนี้แล้วเสร็จใน เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2456

นอกจากนี้ได้วางท่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.10 เมตร จากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำสามเสนมาตามถนนนครไชยศรี มายังถนนคันคลองประปา ข้างโรงกรองน้ำสามเสน ไว้นำน้ำจากแม่น้ำมาใช้เมื่อเวลาฉุกเฉิน เมื่อคลองส่งน้ำจากเชียงรากชำรุด หรือหยุดซ่อมแซม เช่นซ่อมท่อไซฟอนหรือท่อลอด และหยุดซ่อม คลองที่เชียงราก เป็นต้น จะได้มีน้ำใช้ 2 ทาง คงสูบน้ำได้เสมอ ท่อนี้ฝังอยู่ใต้ดินมีช่องทางขึ้นลงสำหรับตรวจตรา หรือลงไปทำความสะอาดทำไว้เป็นระยะๆ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ชำรุดเสียหาย และเลิกใช้ไปเมื่อไม่นานนี้ และในโรงกรองมีอ่างขังน้ำไว้สำหรับล้างท่อนี้ด้วย

การซื้อที่ดิน ได้จัดการซื้อที่ดินที่สร้างโรงสูบน้ำและโรงกรองน้ำตำบลสามเสน ซื้อที่ทำถนนเข้าโรงสูบโรงกรอง ตั้งแต่ถนนสามเสนถึงคันคลองประปา เพื่อวางท่อส่งน้ำดิบ จากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาที่โรงกรองซื้อที่ดินขุดคลองส่งน้ำจากโรงกรองน้ำสามเสน ขึ้นไปถึงคลองเชียงราก และซื้อที่บริเวณปากคลองเชียงรากด้านใต้ และตำบลเหนือบ้านกะแชง เพื่อทำประตูน้ำรวมเป็นที่ดินที่ซื้อไป 1,097 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวาราคาเฉลี่ยตารางวาละ 30 สตางค์ และมีผู้ยกให้ช่วยราชการ 33 ราย รวม 24 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา มีอาทิหลวงสุนทรโกษา นางพริ้ง อำแดงเจียก เม้ยฝอย เป็นต้น

สำหรับการสร้างอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงกรองน้ำสามเสนมีดังนี้

โรงสูบน้ำ กว้าง 9.50 เมตร ยาว 34 เมตร เป็นอาคารตึกชั้นเดียว ใต้พื้นมีช่องเป็นที่วางท่อน้ำและสายไฟ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดิบขนาด 60 แรงม้า สูบน้ำได้ วินาทีละ320 ลิตรใช้ไฟ 3,500 โวลท์ 50 ไซเคิล จำนวน 2 เครื่องปกติใช้งาน 1 เครื่อง สำรอง 1 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบจ่ายน้ำประปาขนาด 160 แรงม้า สูบน้ำ ได้วินาทีละ 250 ลิตร จำนวน 3 เครื่องในเวลากลางวันจะใช้งาน 2 เครื่อง กลางคืน 1 เครื่อง และไว้สำรอง 1เครื่อง มีเครื่องทำลมสำหรับประกอบการเดินเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ขนาด 3.5 แรงม้า ใช้ไฟ 100 โวลท์เครื่องสูบน้ำเหล่านี้เป็นของห้างซูลเซอร์บราส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีเครื่องวัดปริมาณน้ำหรือเวนจูรี 2 ชุด

สำหรับไฟฟ้าในระยะแรก ๆ ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ทำไฟขึ้นเพื่อจะใช้เอง แต่ต่อมาได้ใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าสามเสนอยู่ที่ถนนสามเสน ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2457 และในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ระหว่างปีพุทธศักราช 2484 ถึง 2488 โรงไฟฟ้าสามเสน ถูกระเบิดทำลายเสียหายใช้การไม่ได้ จึงได้ใช้ไฟฟ้าจากโรงเบียร์บุญรอด และ จากทหารเรือที่บางนา ทำให้ผลิตน้ำประปาใช้ได้ตลอดเวลาไม่ขาดแคลน ตลอดสมัยสงคราม การสูบจ่ายน้ำในระยะแรก ๆ ปรากฏว่าสูบได้ถึง 3-4 ทุ่มแรงดันน้ำจะสูงถึง 38 เมตร ขึ้นเก็บไว้ในถังสูงที่สะพานดำจนเต็มก็ยังสูบได้อีกแต่ไม่มีที่เก็บจึงต้องหยุดสูบ และมาเดินต่อในตอนเช้า

เครื่องจ่ายสารส้ม มีถังไม้บรรจุสารส้ม 3 ถัง (ภาพประกอบ) เป็นของส่งมาจากนอกตั้งไว้บนชั้น 3 ของโรงเกรอะ เข้าใจว่าเป็นถังหมักองุ่น ทำไว้ตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช 1851 เอามาทำเป็นละลายสารส้มสามารถทนการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีมีเครื่องจ่าย 1 ชุด รูปร่างเป็นกรวยมี 6 กรวยแล้วมีท่อต่อจากถังสารส้มมา มีก๊อกบังคับตั้งอัตราไหลได้ เพื่อจ่ายไปยังท่อน้ำดิบก่อนเข้าถังเกรอะ มีเครื่องทำลม สำหรับละลายสารส้ม 1 ชุด

สารส้มที่ใช้ในสมัยนั้น เป็นสารส้มก้อนสั่งจากประเทศเบลเยี่ยม บรรจุในลังไม้ฉำฉารูปร่างคล้ายกลอง ขนส่งมาทางเรือลากเข้ามาในคลองสามเสนมาจอด ข้างโรงกรองน้ำ บนบกมีปั้นจั่น ตั้งอยู่บนรางรถไฟยกสารส้มขึ้นมาใส่รถแล้ววิ่งไปเก็บไว้ในโรงเกรอะสารส้มก้อนที่ส่งมานี้มีลักษณะเป็นก้อนใส ๆ ละลายน้ำได้ดี แทบไม่ต้องใช้เครื่องกวน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สารส้มขาดแคลนได้ใช้สารส้มที่เก็บสต๊อคไว้บ้างและทดลองใช้ดินเปรี้ยวจากสุพรรณบุรีบ้าง พอใช้ได้แต่เสียเวลาในการละลายมาก เพราะมีขี้ดินติดอยู่ทำให้น้ำประปาที่จ่ายไปใส่สารส้มไม่เพียงพอจึงมีสีขาวขุ่น ดินเปรี้ยวนี้มีอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดเลย แต่การขนส่งทำได้ยากเลยไม่ได้ใช้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สั่งสารส้มมาจากรูมาเนีย เพราะ ราคาถูก และ ใช้สารส้มที่ องค์การสหประชาชาติให้มาเป็นก้อนแข็งมาก หากทิ้งไว้ ไม่กวนจะไม่ละลาย การยกขึ้นไปบนโรงเกรอะ จะมีถังไม้ตวงเป็นหนัก ๆ ละ 10-15 กก. ผสมคราวหนึ่งก็ราว ๆ 20-30 หนัก และต่อมาได้มีการสร้างโรงงานสารส้มขึ้น ที่กรมวิทยาศาสตร์ จึงได้ใช้สารส้มทำภายในประเทศ เป็นสารส้มก้อน ต้องมาละลายน้ำอีกจึงแก้ไขให้เป็นอย่างน้ำใช้มาจนปัจจุบันนี้

ถังเกรอะหรือถังตกตะกอนทำด้วยคอนกรีตกว้าง 22 เมตร ยาว 25 เมตร ลึก 6.50 เมตร มีความจุประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตร (ภาพประกอบ) ถังนี้แบ่งเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องมีความจุประมาณ 750 ลูกบาศก์เมตร ภายในมีแผ่นคอนกรีตกั้น ขวางทางน้ำไหลไว้ ให้ผ่านได้เฉพาะช่วงบน หรือล่างสลับกัน มีด้วยกัน 5 แผ่น ทำไว้เพื่อให้น้ำไหลวน ขึ้น-ลง สารส้มกับน้ำคลอง จะได้ทำปฏิกริยากันเกิดเป็นเม็ดตะกอนตกลงสะสมบนพื้นถัง ฉะนั้นเมื่อใช้งานไปได้ประมาณ 10 วัน จะทำการล้างสลับกันครั้งละ 2 ช่อง

ถังเกรอะนี้เกรอะน้ำได้วันละ 28,000 ลูกบาศก์เมตรสามารถจ่ายน้ำให้ประชาชนคนละ 50 ลิตร หรือ 2 1/2 ปี๊บ ได้ถึง 5 แสน 6 หมื่นคนแต่ต่อมาในปีพุทธศักราช 2473 มีคนใช้น้ำมากขึ้น จึงต้องสร้างถังเกรอะเพิ่มขึ้นอีก1 ถัง กว้างสูงเท่ากัน แต่ยาวกว่าเดิม 4 เมตร ผลิตน้ำเพิ่มได้อีก 40,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำคลองโดยปรกติจะมีความขุ่นราว 80-100 หน่วย (Part Per Million) ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม และจะสูงขึ้นในฤดูฝน คือเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม เป็นราว ๆ 120-200 หน่วย (Part Per Million) บางปีถึง 300 หน่วยเรียกว่าอาบวัว เพราะมีสีแดงขุ่นข้น เกิดจากฝนตกชะเอาดินโคลนไหลมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ยากลำบากแก่การตกตะกอน เจ้าหน้าที่ควบคุมโรงกรองกลัวกันมาก ต้องคอยระวังกันตลอดทั้งวันทั้งคืน และในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม น้ำจะใสมากไม่เกิน 20-40 หน่วย (Part Per Million) เรียกว่า น้ำรากหญ้า เพราะเป็นน้ำที่ชะเอาหญ้าเน่า ตามท้องทุ่งท้องนามา จะมีสีกลิ่นและตะกอนละเอียด ทำให้บ่อกรองฝืด และ หมดเร็ว คือ กรองได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องล้างน้ำนี้ใสจนสามารถกรองไปใช้ ได้โดยไม่ต้องเกรอะ

สารส้มที่ใช้ในการทำให้ตกตะกอนอยู่ระหว่าง 20 ถึง 80 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยทั้งปีจะตกอยู่ราวประมาณ 24-34 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในบางปี น้ำมีความขุ่นสูง เคยทดลองใส่โซเดียมคาบอเนตลงไปช่วยตกตะกอน ปรากฏว่าได้ผลดี ระยะเวลาที่ใช้ในการตกตะกอนประมาณ 2-4 ชั่วโมง สามารถลดความขุ่น ความกระด้าง และ แบคทีเรียได้เกือบหมด แล้วต่อจากนั้น จะส่งไปยังถังกรองเพื่อ กรองเอาตะกอนที่ยังเหลืออยู่ออกก็จะได้น้ำดื่มที่สะอาด

เครื่องกรองน้ำ เป็นเครื่องกรองอย่างสมัยใหม่ชนิดกรองเร็วเพราะในสมัยนั้น แม้ในต่างประเทศก็ยังใช้แต่ชนิดกรองช้าซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ถังกรองเร็วนี้มีขนาด เล็กกว่าถึง 40 เท่า ใช้คนควบคุมเพียงไม่กี่คนใช้เวลาล้างก็น้อยเพียงไม่กี่นาที ถังกรองช้าต้องล้างเป็นวัน ถังกรองเร็วล้างเสร็จก็เปิดกรองได้ทันทีและใช้กับน้ำที่มี ความขุ่นเปลี่ยนแปลงมาก หรือน้อยได้ตลอดเวลาเครื่องกรองนี้เป็นอย่างอเมริกันทำ จากโรงงานบริษัทยีแวล ในสหรัฐอเมริกามีด้วยกัน 12 ถัง เป็นถังเหล็กรูปทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.20 เมตร บรรจุทราย หนา 1 เมตร กรวดอีกเล็กน้อย ใต้ชั้น กรวดมีหัวกรองน้ำทำด้วยทองเหลืองติดอยู่ มีเครื่องควบคุมการกรองของบริษัท เวสตันเพื่อทำให้กรองน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ถังกรองน้ำใช้งานอยู่ได้ระหว่าง 16-60 ชั่วโมง ก็จะทำการล้างทั้งนี้ขึ้นกับความขุ่นของน้ำคลอง ขณะที่กรองความฝืดจะขึ้น อยู่ระหว่าง 80 เซนติเมตร ถึง 3 เมตร และเมื่อความฝืดถึง 3 เมตร ก็จะหยุดกรอง เองโดยอัตโนมัติ

การล้างบ่อกรอง มีเครื่องกวนที่ปลายติดโซ่ไว้สำหรับลากไปบนหน้าผิวทราย เพื่อให้ตะกอนที่จับอยู่ลอยขึ้นมา จะใช้เวลากวนประมาณ 6-7 นาที แล้วใช้น้ำล้าง อีกประมาณ 10 นาที ล้างเสร็จจะกรองทิ้งไปอีกประมาณ 5-30 นาที ก็จะสะอาด เปิดกรองได้ใหม่แต่ในสมัยนี้ได้เปลี่ยนเครื่องกวนเป็นเครื่องพ่นลมแล้วเพราะหาอะไหล่มาเปลี่ยนไม่ได้

เครื่องกวนนี้มีมอเตอร์สำหรับขับขนาด 15 แรงม้า มีสายพานโยงขึ้นไป ต่อกับพูลเล่ที่เพดาน แล้วโยงลงมาหมุนเครื่องกวนในถังกรองสามารถเดินหน้า-ถอยหลังได้ ตัวโรงกรองกว้าง 17 เมตร ยาว 45 เมตร มีหลังคาคลุมป้องกันแดดฝนทำให้ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีอายุการใช้งานได้นานไม่ผุกร่อน น้ำไม่ระเหยออกไป และไม่มีตะไคร่เกาะ ในปีพุทธศักราช 2473 ได้สร้างโรงกรองคู่ กับโรงแรกอีก 1 โรง แต่ตัวถังทำ ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ได้ทำด้วยเหล็กอย่างโรงแรก และข้างโรงกรองหลักที่ 2 มีถังสูงกักเก็บน้ำประปาไว้ เพื่อให้คลอรีนระเหย สำหรับเอามาใช้ล้างบ่อกรองเพื่อ ไม่ให้หัวกรองน้ำที่เป็นทองเหลืองถูกน้ำคลอรีนกัดชำรุดได้ง่าย

ที่ขังน้ำบริสุทธิ์หรือถังน้ำใสน้ำที่กรองแล้วจะไหลมายังถังน้ำใส ถังนี้ทำ รูปภาพที่ประทับด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมีขนาดกว้าง 36 เมตร ยาว 54 เมตร สูง 3 เมตร อยู่ใต้ระดับ พื้นดินครึ่งหนึ่งจุน้ำได้ 5,700 ลูกบาศก์เมตร ข้างบนถมดินและปลูกหญ้าคลุมไว้มี ปล่องระบายอากาศ ติดมุ้งลวดกันแมลงและยุงลงไปไข่ และกันจิ้งจกตกลงไปตาย ถังนี้แบ่งเป็น 2 ตอน สามารถปิดกั้นแต่ละตอนเพื่อลงไปทำความสะอาดได้

บนหลังถังบริสุทธิ์ มีโรงจ่ายคลอรีน สำหรับฆ่าเชื้อโรคที่ยังอาจจะหลงเหลือ จากการกรองแล้ว คลอรีนที่ใช้เป็นคลอรีนแก๊สบรรจุมาในหลอดขนาด 70 กิโลกรัม สั่งมาจากประเทศอังกฤษ และเครื่องจ่ายคลอรีน เป็นชนิด "แปตเตอร์ซัน" ใช้มาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2471แต่ในสมัยแรก ๆ และสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้คลอรีนผง ละลายน้ำใส่ลงไป การเจือคลอรีนก็เจือลงไปพอไม่ให้มีกลิ่นเหม็นปาก และใน ปลายปีพุทธศักราช 2475 ได้มีการเจือปูนขาวลงไปเพื่อป้องกันการกัดกร่อนในเส้น ท่อด้วย

การสูบจ่ายน้ำ การสูบจ่ายน้ำที่ใช้เครื่องสูบส่งไปตามที่ต่าง ๆ และมีเส้นท่อ เหล็กหล่อขนาด 700 มม. ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ไปยังถังสูงพักน้ำถังนี้หนัก และสูงมากเป็นถังกลมรูปหอคอย สำหรับทำให้น้ำไหลแรง ถึงบริเวณกรุงเทพฯ ตอนใต้ มี 2 ถัง จุถังละ 1,000 ลูกบาศก์เมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 16 เมตร สูงจากพื้นดิน 24 เมตร ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งอยู่ที่บ้านช่างคาด อันเป็นหมู่บ้านทำรัดประคต หรือ สายคาดของพระในปัจจุบัน คือ สี่แยกแม้นศรี เป็นศูนย์กลางการ จ่ายน้ำ และเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในเวลาต่อมาด้วย ในปีพุทธศักราช 2475 ได้ สร้างถังอย่างนี้เพิ่มขึ้นอีก 2 ถัง ที่ข้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีขนาดเท่ากันแต่สูง กว่าอีก 4 เมตร ท่อที่วางไปที่ต่าง ๆ เป็นเหล็กหล่อ มีข้อต่อชนิดยีโบล และปรีซีมี ยางอัดกันน้ำรั่วขยับตัวได้บ้าง, ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะกับพื้นดินในกรุงเทพฯ เพราะเป็นดินเหนียวอ่อน ท่อเหล็กที่ใช้มีขนาดตั้งแต่ 700 มิลลิเมตร ถึง 40 มิลลิเมตร เป็นท่อของบริษัทโซเซเอเต อาโนนิมเดโรต์ ฟรูโนเอต์ฟองเดอรีเดอ ปองต์ ตามูซอง หรือเรียกสั้น ๆ ว่าบริษัท ปองตามูซอง ฝังไปตามถนนสายต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ใดบ้านเรือนหนาแน่น ก็วางไว้ตลอดทั่วถึงกันที่ใดบ้านเรือนน้อยก็ วางแต่พอควร, รวมความยาวทั้งสิ้น 92,000 เมตร และ ได้ติดตั้งก๊อกสาธารณะที่มีที่ ดับเพลิงอีก 235 แห่งก๊อกน้ำสาธารณะนี้เป็นรูปทรงกระบอกปลายสอบ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ข้างบนมีแกนต่อด้าม ยกปิด-เปิดให้น้ำไหลออกทางท่อรูปร่าง เป็นงวงยื่นมาข้างหน้า ประชาชนจะมารอง ไปใช้ตามบ้านเรือนและมีอาชีพหาบน้ำประปาขายเกิดขึ้น ราคาหาบละ 5 สตางค์ ถึง 25 สตางค์ ก๊อกน้ำสาธารณะนี้สำรวจครั้งสุดท้ายได้ 482 แห่ง และได้ทยอยเลิกไป ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2501 เพราะคนแต่งตัวไม่สุภาพมาอาบน้ำตามก๊อกสาธารณะประกอบกับ ราคาค่าผลิตน้ำสูงขึ้น สำหรับท่อน้ำจ่ายไปตามบ้านเรือนใช้ท่อเหล็กเหนียวฉาบสังกะสีขนาดตั้ง แต่ 1/2 นิ้วถึง 2 1/2 นิ้ว มีมิเตอร์สำหรับวัดปริมาณน้ำที่ใช้ด้วยในการติดตั้งคราว แรกมีผู้ขอใช้น้ำประมาณ 400 ราย แล้วเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ถึง 3,000 รายในปี พุทธศักราช 2465 ราคาค่าน้ำประปาที่จำหน่ายลูกบาศก์เมตรละ 25 สตางค์

ในปีพุทธศักราช 2475 ได้สร้างสะพานพุทธยอดฟ้าจึงวางท่อขนาด 500 มิลลิเมตร ขนานไปกับสะพาน เพื่อจ่ายน้ำไปทางฝั่งธนบุรี แถบถนนประชาธิปกวงเวียนเล็ก ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลโรคจิต แต่มาชำรุดเสียหายเมื่อคราวถูกลูกระเบิด ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราว ๆ ปีพุทธศักราช 2485-2486

การใช้น้ำประปาได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมวันละ 10,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 13,000 ลูกบาศก์เมตร ส่วนมากจะรองเอาจากก๊อกน้ำสาธารณะต่าง ๆ ชาวบ้านที่ อยู่แถบชานเมืองไม่มีน้ำประปา ใช้ได้ขนโอ่งลงเรือมาบรรทุกน้ำไปวันละหลาย ๆ ลำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน และทางการประปาก็เพิ่มปริมาณน้ำผลิตเรื่อยมา สมัยนั้นหากผลิตน้ำให้เต็มที่จะได้ราว 28,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจะยังเพียง พอที่จะจ่ายให้ประชาชนได้ใช้โดยทั่วถึงกัน

คุณภาพน้ำประปา ผลการวิเคราะห์น้ำในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2463 โดยเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลในด้านชีวะซึ่งทำทุกวัน ปรากฏว่าไม่มีแบคทีเรียในน้ำประปา เคยตรวจพบอยู่บ้างก็น้อยมาก อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย การวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งทำเดือนละครั้ง ก็ปรากฏว่าเป็นน้ำสะอาดไม่มีสารพิษเจือปน ปลอดภัย ใช้บริโภคได้ แสดงว่าการทำน้ำประปาจากโรงกรองน้ำสามเสนสามารถผลิตน้ำได้ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคเฉกเช่นโรงกรองน้ำต่าง ๆ ทั่วโลก

สำหรับโรงกรองน้ำหลังอื่น ๆ ได้ทยอยสร้างขึ้น ตามความจำเป็นตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2495 เป็นต้นมาโดยมีการก่อสร้างโรงกรองน้ำหลังที่ 3, 4 เป็นแบบของ บริษัทแพทเตอร์สัน แต่ถังตกตะกอนของโรงกรองน้ำที่ 4 เป็นแบบสมัยใหม่แบบกลม และต่อจากนั้นก็ได้สร้างโรงกรองน้ำหลังที่ 5 บนถนนนครไชยศรีตรงข้างโรงกรองน้ำที่ 3 และสร้างโรงกรองน้ำที่ 6-9 ที่ฝั่งตรงข้ามโรงกรองน้ำที่ 1 บนถนนพระราม 6 เป็นที่ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ สำหรับเพาะชำต้นไม้เรียกว่าสวนหลวง ในปี พ.ศ.2506 ได้สร้างโรงกรองน้ำ ซึ่งออกแบบโดยบริษัทเดอเกรมองต์ของฝรั่งเศส เป็นโรงกรองใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น การที่สร้างโรงกรองน้ำเพิ่มมากขึ้นในช่วงนั้น เพราะได้ถมคลองในกรุงเทพฯ เพื่อทำถนนทำให้ไม่มีน้ำคลองใช้จึงต้องหันมาใช้น้ำประปากัน การก่อสร้างประปาในครั้งนั้นใช้เงินไปทั้งสิ้น 4,153,139 บาท 13 สตางค์ สร้างเสร็จ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนิน มาเปิดโรงกรองน้ำแห่งแรกในสยามเมื่อ "วันที่ 14 พฤศจิกายน 2457"

2.การแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำบริโภคและการจัดหาน้ำสำหรับบริโภคให้แก่ประชาชนในอดีต

นับจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดำริการหาน้ำบริโภค สำหรับประชาชนในเขตพระนคร จนกระทั่ง ได้มีการเปิดโรงกรองน้ำแห่งแรกเมื่อ 14 พย.2457 อีก 39 ปีต่อมา ใน พ.ศ.2496 รัฐบาลในขณะนั้น จึงได้มีการอนุมัติให้ กรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างการประปา ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ให้ชื่อว่า การประปาพิบูลสงครามผลิตและจำหน่ายน้ำประปาบริการทหารและประชาชน ซึ่งนับเป็นการประปาใน ส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรก ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลก็ได้อนุมัติให้กรม โยธาธิการกู้เงินธนาคารออมสินมาดำเนินการก่อสร้างการประปาขอนแก่น ราชบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ ปากพนัง ภูเก็ต รวม 6 แห่ง รวมทั้งอนุมัติให้ทำสัญญา ผ่อนชำระกับบริษัทเอกชน รวม 2 ฉบับ จำนวนเงิน 190,272,361.65 บาท และ 80,508,689.76 บาท เพื่อก่อสร้างการประปา 70 แห่ง โดยใช้เงินกู้จาก ธนาคารออมสิน ซึ่งหากพิจารณาแล้ว จะเห็นว่าเป็นวงเงินจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของรัฐบาลในขณะนั้น ที่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ในปี พ.ศ. 2504 เมื่อรัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ได้มีการเจาะบ่อน้ำบาดาล เพื่อหาน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคให้แก่ประชาชน ในชนบท และในปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการ จัดหาน้ำสะอาดทั่วราชอาณาจักร มีคณะกรรมการเป็นผู้บริหารโครงการ และมีหน่วยงานร่วมดำเนินงานในโครงการนี้ 11หน่วยงาน นอกจากการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับบริโภค ด้วยการจัดให้มีโครงการ จัดหาน้ำสะอาดทั่วราชอาณาจักร และก่อสร้างระบบประปา ของกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ ตามโครงการประปาจังหวัดแล้ว กรมอนามัย โดยกองประปาชนบท ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูซอม อเมริกาและ องค์การยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก ฯลฯ ในการดำเนินงานจัดหาน้ำสะอาด สำหรับประชาชนในชนบท ในรูปแบบของการประปาชนบท ในชุมชนที่มีจำนวนประชากรไม่เกิน 5,000 คน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการขาแคลนน้ำบริโภคในส่วนภูมิภาคอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบในจำนวนที่ได้มีการกำหนด ตกลงกันไว้

3.การจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาคเป็นรัฐวิสาหกิจ

การจัดหาน้ำสะอาดในรูปแบบของน้ำประปาสำหรับประปาชนใช้อุปโภคบริโภค แต่เดิมมีหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบ ในการดำเนินงาน 2 หน่วยงาน คือ - กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบในการดำเนินการ ก่อสร้างระบบประปา และดูแลระบบการผลิตจำหน่ายน้ำประปาในเขตเมืองหรือใน ชุมนุมชน ที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป ซึ่งมีการประปาในความดูแลรับผิดชอบ ก่อนมีการจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ จำนวน 185 การประปา - กองประปาชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ดำเนินการ และรับผิดชอบการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน หรือการประปาขนาดเล็ก ในชุมชนที่มีจำนวนประชากรไม่เกิน 5,000 คน โดยร่วมกับท้องถิ่นและเมื่อก่อสร้างระบบประปาแล้วเสร็จ ก็มอบให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งได้แก่สุขาภิบาล หรือ หมู่บ้านเป็นผู้บำรุงรักษาดูแลต่อไป ซึ่งมีอยู่จำนวน 550 แห่ง ก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ต่อมาความต้องการน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภค ขยายตัวเพิ่มความต้องการมากขึ้น การผลิต จำหน่ายของกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการมีข้อจำกัดในด้านระเบียบราชการ ทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว และไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นหน่วยงานธุรกิจทั่วไป ในสมัยรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มอบให้ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศึกษาวิธีการจัดรูปแบบการบริหารประปาในส่วนภูมิภาค ให้มีความคล่องตัวในการให้บริการ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติเมื่อ วันที่ 9 พค.2521 ให้มีการปรับรูปแบบ การดำเนินกิจการประปาของกองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการ ให้เป็นรูปแบบการบริหารแบบ รัฐวิสาหกิจ ตามข้อเสนอของ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาคขึ้น มีนายจำรูญ ปิยัมปุตระ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในขญะนั้นเป็นประธาน ดำเนินการจัดตั้งและตราเป็น พรบ.การประปาส่วนภุมิภาค พศ.2522 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2522 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป โดยโอนกิจการประปา ตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและกองประปาชนบท กรมอนามัย มาเป็นลูกจ้างและพนักงานของ การประปาส่วนภูมิภาค

4.ประวัติการก่อสร้างการประปาในส่วนภูมิภาค

การประปาส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการก่อสร้างและบริหารงานเกี่ยวกับกิจการประปาในส่วนภูมิภาค และชนบทต่าง ๆ จากประวัติของกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการพบว่าในปี พ.ศ. 2496 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ ให้ดำเนินการก่อสร้างการประปา ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่โคกกระเทียม ให้ชื่อว่า การประปาพิบูลสงคราม ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาบริการหน่วยทหารและประชาชน ซึ่งอาจจะนับเป็น การประปาแห่งแรกในต่างจังหวัด และในปี พ.ศ.2497 รัฐบาลก็ได้อนุมัติให้กรมโยธาธิการกู้เงินธนาคารออมสิน มาดำเนินการก่อสร้างการประปา ขอนแก่น ราชบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ ปากพนังและภูเก็ต รวม 6 แห่ง และอนุมัติให้ทำสัญญา ผ่อนชำระ กับบริษัทเอกชนรวม 2 ฉบับ เพื่อก่อสร้างการประปา 70 การประปา โดยใช้เงินกู้จากธนาคารออมสิน ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา (J.C.A.) ในเรื่องเครื่องกรองน้ำ, เครื่องจักรกลการประปา ท่อและรถยนต์ในวงเงิน U.S.$ 495,000 เพื่อก่อสร้างการประปา 6 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ การประปา ร้อยเอ็ด , อุบลราชธานี, สกลนคร, สุรินทร์, มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยค่าใช้จ่ายสมทบภายในประเทศ ซึ่งได้แก่ ค่าก่อสร้างอาคาร และอื่นๆ จ่ายจากเงินกู้ ก.ศ.ว. เงิน COUNTER PART FUND) หลังจากนั้นอีก 7 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ จึงมีการแบ่งงานเป็น งานโครงการประปาจังหวัดและโครงการเจาะบ่อน้ำบาดาล โดยจะดำเนินการ เจาะบ่อน้ำบาดาลในท้องที่ซึ่งอัตคัตขาดแคลนน้ำผิวดินในการใช้อุปโภค และบริโภคในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคเหนือ, ตะวันออก และภาคใต้ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี และ การที่กรมโยธาธิการ จะดำเนินการเจาะบ่อบาดาล ณ ท้องที่ใดถูกกำหนดโดยคณะกรรมการบริหารโครงการ จัดให้มีน้ำสะอาดในชนบททั่วราชอาณาจักรการก่อสร้างการประปาโดยเงินกู้จากธนาคารออมสิน, เงินกู้จาก ก.ศ.ว. และตามสัญญาผ่อนชำระกับ บริษัทเอกชนโดยเงินกู้จากธนาคารออมสิน บางแห่งได้แล้วเสร็จเปิดดำเนินงาน บริการประชาชนได้ในปี พ.ศ. 2498 เทศบาลเจ้าของท้องถิ่นในขณะนั้น ไม่พร้อมที่จะรับมอบงานก่อสร้างไปบริหารงาน เนื่องจากขาดงบประมาณ และ ภาวะการเงินของเทศบาลในขณะนั้น ไม่อาจ จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการผลิต และ จำหน่ายน้ำประปาบริการประชาชนรวมทั้งผ่อนชำระค่าก่อสร้างได้ อีกทั้งยังขาดช่างประปา ที่จะมาบริหารงาน กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ จึงต้องรับภาระเป็นผู้บริหารงานบริการประชาชน โดยทำการจำหน่ายน้ำประปาในอัตราค่าน้ำอย่างต่ำลูกบาศก์เมตรละ 4.50 บาท และอย่างสูงลูกบาศก์เมตรละ 9.00 บาท โดยคำนวณค่าน้ำตามสภาพค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละท้องถิ่น บวกต้นทุนค่าก่อสร้างที่จะต้องผ่อนชำระแก่ผู้ให้กู้ และให้การประปาแต่ละแห่ง มีรายได้เพียงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเท่านั้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2503 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายช่วยยกฐานะค่าครองชีพของประชาชนได้ขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาลดอัตราค่าน้ำประปาให้ต่ำลง กองประปาภูมิภาคในขณะนั้นได้จัดทำรายละเอียดค่าก่อสร้างที่ต้องจ่ายจากเงินกู้ต่าง ๆ ตลอดจนต้นทุนการผลิตและเหตุผลที่ต้องทำการจำหน่ายน้ำประปาในอัตราต่าง ๆ ข้างต้นเสนอเพื่อพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2503 ให้กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ จำหน่ายน้ำประปาในอัตรา ลูกบาศก์เมตรละ 2.00 บาท ทุกการประปาที่เปิดบริการโดยให้ธนาคารออมสิน ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือร้อยละ 3 ต่อปี จากเดิมร้อยละ 8 ต่อปี และรัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยแทนกรมโยธาธิการ จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ จะต้องดำเนินการก่อสร้างการประปาตามนโยบายเดิม และดำเนินการผลิต และจำหน่ายน้ำประปาบริการประชาชนในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 2.00 บาท เท่ากันทุกท้องถิ่น

ในด้านการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2504 กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการได้เสนอขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินงานผลิต จำหน่ายน้ำประปาในส่วนภูมิภาค ทั้งรายรับและรายจ่าย ซึ่งสำนักงบประมาณได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้เป็นเงินทุนหมุนจำนวน 3,400,000 บาท เงินงบประมาณดังกล่าว กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้รับเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียน เรียกว่า "เงินทุนหมุนเวียนการจำหน่าย น้ำประปา ในส่วนภูมิภาค" รหัสหน่วยงาน 1050 รหัสบัญชีย่อย 963 การเบิกจ่ายให้ปฎิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินขององค์การ พ.ศ. 2495 พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2502 และบรรดากฎข้อบังคับ หรือระเบียบอื่น ๆ และตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลังโดยอนุโลมเงินทุนนี้สำนักงบประมาณ ได้จัดสรรเพิ่มให้อีก 4 ครั้ง รวมเป็นเงินทุนทั้งสิ้น 9,900,000 บาท การดำเนินงานผลิต - จำหน่ายน้ำประปาโดยเงินทุนนี้ไม่มีคณะกรรมการบริหาร เป็นการดำเนินงานโดยกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการเงินปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการทุกประการ โดยแผนกประปาต่างจังหวัดกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในด้านการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาบริการประชาชนในส่วนภูมิภาค สำหรับทางด้านวิชาการ, ด้านบุคคล, การเบิกจ่ายเงิน และ ระบบบัญชี รวมทั้งงานตรวจสอบบัญชีการเงินและพัสดุหน่วยงานต่าง ๆ ในกองประปาภูมิภาคและกองคลัง กรมโยธาธิการ ร่วมให้ความช่วยเหลือบุคลากร ในส่วนภูมิภาค มีทั้งที่เป็นข้าราชการ และ ลูกจ้างงบเงินทุนหมุนเวียนฯ

ในด้านค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในการดำเนินงานได้จากงบประมาณประจำปี (นอกเหนือจากค่าก่อสร้างการประปาใหม่และปรับปรุงขยายการประปาเดิม) เช่นเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของข้าราชการ ค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ ค่าเครื่องยนต์เครื่องสูบน้ำที่ต้องสับเปลี่ยนของเดิมที่ชำรุด ค่ายานพาหนะ ค่าครุภัณฑ์สำนักงานและค่าเปลี่ยนแนวท่อ ค่าวางท่อขยายเขตบริการ ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีเป็นเงินจำนวนมาก อีกส่วนหนึ่งจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา ตั้งแต่หมวดค่าจ้างถึงหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

การประปาที่ก่อสร้างโดยวิธีชำระเงินผ่อนกับบริษัทเอเซีย จำกัด มี 2 สัญญา

สัญญาที่ 1 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2497 จำนวนเงินบาท ตามสัญญาเป็นเงิน 190,272,361.65 บาท จำนวน 45แห่ง

สัญญาที่ 2 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2498 จำนวนเงินบาท ตามสัญญาเป็นเงิน 80,508,689.76 บาท จำนวน 25 แห่ง รวม 70 แห่ง

5.การแบ่งพื้นที่การให้บริการ

ภาคเหนือ 17 แห่ง

  1. เชียงราย
  2. อุตรดิตถ์
  3. ลำปาง
  4. แพร่
  5. ลำพูน
  6. น่าน
  7. สุโขทัย
  8. เพชรบูรณ์
  9. กำแพงเพชร
  10. สวรรคโลก
  11. นครสวรรค์
  12. หล่มสัก
  13. พิจิตร
  14. บางมูลนาก
  15. ตะพานหิน
  16. ตาก
  17. พะเยา

ภาคกลาง 18 แห่ง

  1. สมุทรสาคร
  2. สมุทรสงคราม
  3. ปากช่อง
  4. นนทบุรี
  5. บ้านหมี่
  6. สิงห์บุรี
  7. ประจวบคีรีขันธ์
  8. ปทุมธานี
  9. บางบัวทอง
  10. เสนา
  11. อ่างทอง
  12. ชัยนาท
  13. พระประแดง
  14. กาญจนบุรี
  15. เพชรบุรี
  16. บ้านโป่ง
  17. สุพรรณบุรี
  18. พระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก 10 แห่ง

  1. ตราด
  2. ชลบุรี
  3. ปราจีนบุรี
  4. ฉะเชิงเทรา
  5. นครนายก
  6. ขลุง
  7. ระยอง
  8. อรัญประเทศ
  9. บางคล้า
  10. จันทบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง

  1. บุรีรัมย์
  2. กาฬสินธุ์
  3. ชัยภูมิ
  4. วารินทร์ชำราบ
  5. มุกดาหาร
  6. เลย
  7. หนองคาย
  8. นครพนม

ภาคใต้ 17 แห่ง

  1. สงขลา
  2. หาดใหญ่
  3. นราธิวาส
  4. สุราษฏร์ธานี
  5. กันตัง
  6. พังงา
  7. เบตง
  8. ชุมพร
  9. ระนอง
  10. ตะกั่วป่า
  11. ปากแพรก
  12. สตูล
  13. ตรัง
  14. กระบี่
  15. ชุมพร
  16. สุไหงโก-ลก
  17. ห้วยยอด

6. สรุป

ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำไม่ได้รับความสะดวกในด้านบริการ หรือมีความประสงค์จะแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการให้บริการของ กปภ. สามารถ ดำเนินการได้ดังนี้
  1. การประปาที่เปิดบริการประชาชน มีการประปาใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และการประปาเดิมได้รับการปรับปรุงขยายกำลังผลิตและขยายเขต จำหน่ายน้ำเพิ่มขึ้น โดยเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  2. อัตราจำหน่ายน้ำประปาลูกบาศก์เมตรละ 2.- บาท เท่ากันทุกท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2503 เป็นต้นมา
  3. การประปาที่ก่อสร้างและเปิดบริการใหม่ รายจ่ายสูงกว่ารายได้ระยะหนึ่ง (3 - 4 ปีหรือกว่านั้น)
  4. การดำเนินงานผลิต - จำหน่ายน้ำประปาบริการประชาชน ที่มาของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีส่วนหนึ่ง และจากเงินทุนหมุนเวียนการจำหน่ายน้ำประปาในส่วนภูมิภาค ส่วนหนึ่งหากรายจ่ายทุกประเภทจ่าย จากเงินทุนหมุนเวียนฯ อย่างเดียว รายได้จะไม่เพียงพอกับรายจ่าย
  5. เงินทุนหมุนเวียนการจำหน่ายน้ำประปาในส่วนภูมิภาคไม่มีคณะกรรมการบริหาร
เลื่อนขึ้นข้างบน