

วารสาร
24
แนวทางการลดปริมาณการใช้น�้ำระยะสั้น
ได้แก่
การตรวจสอบการรั่วไหลของน�้ำตั้งแต่ท่อน�้ำในส�ำนักงาน โดย
การปิดก๊อกน�้ำทุกตัวหลังจากเลิกงานแล้ว และจดมาตรวัดน�้ำไว้
หากมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ การตรวจสอบชักโครกว่ามี
การรั่วซึมหรือไม่ ไม่เปิดน�้ำไหลโดยเปล่าประโยชน์พร้อมทั้งการใช้น�้ำ
เหลือทิ้งให้เป็นประโยชน์
แนวทางการลดปริมาณการใช้น�้ำระยะยาว
ได้แก่
การรณรงค์ส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมการใช้น�้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
และรู้คุณค่าของน�้ำ สร้างพฤติกรรมการประหยัดน�้ำในองค์กร
ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ในองค์กร ออกแบบและติดตั้ง
ระบบน�้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน�้ำได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน�้ำและอุปกรณ์ให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ก๊อกประหยัดน�้ำ ชักโครกประหยัดน�้ำ ฯลฯ
สื่อรณรงค์ประหยัดน�้ำ
กปภ. เชื่อมั่นว่าการรณรงค์การประหยัดน�้ำ นอกจากการ
สร้างจิตส�ำนึกให้ผู้ใช้น�้ำตระหนักถึงคุณค่าของน�้ำแล้ว การแนะน�ำ
เทคนิคการประหยัดน�้ำก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้น�้ำสามารถน�ำไปใช้ใน
ชีวิตประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี ซึ่ง กปภ. ได้จัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์
ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ ป้ายโฆษณา
บิลบอร์ด โปสเตอร์ในส�ำนักงาน ป้ายโฆษณาติดรถยนต์ โฆษณาใน
หนังสือพิมพ์ วารสารน�้ำ สีสันข่าว ฯลฯ เพื่อกระตุ้นจิตส�ำนึกให้
ประชาชนตระหนักถึงความส�ำคัญของ “น�้ำ”
นอกจากนั้น กปภ. ยังได้จัดท�ำภาพยนตร์โฆษณาความยาว
30 วินาที เผยแพร่ในสื่อต่าง ๆ โดยใช้แนวคิด “น�้ำดิบมีเหลือน้อย
ใช้สอยต้องประหยัด” ในรูปแบบการ์ตูน สีสันสดใสสวยงามอีกด้วย
มุ่งมั่นช่วยเหลือภัยแล้ง
ความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยแล้ง นับเป็นปัญหา
ที่ กปภ. ให้ความส�ำคัญอย่างเร่งด่วน ด้วยการจ่ายน�้ำฟรีช่วยเหลือ
ประชาชนในพื้นที่ภัยแล้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึง กุมภาพันธ์
2559 รวมแล้วกว่า 165 ล้านลิตร พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน
ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำอุปโภคบริโภคจากสาธารณภัยต่าง ๆ
นอกจากนั้น กปภ. ได้ร่วม “บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข” ให้กับประชาชน
ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่บริการของ กปภ. ตามนโยบายของ
กระทรวงมหาดไทย ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น
“โครงการราษฎร์ รัฐ
ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง”
โดยร่วมโครงการกับ กองทัพบก กรมทรัพยากร
น�้ำบาดาล บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 และ
โครงการกรมทางหลวง-
การประปาส่วนภูมิภาค รวมใจ ต้านภัยแล้ง
ซึ่งถือเป็นการบูรณาการ
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลน
น�้ำให้แก่ประชาชน
การรณรงค์ประหยัดน�้ำตามสื่อต่าง ๆ อาจจะดูน่าเบื่อ
เพราะรณรงค์กันเป็นประจ�ำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่เคย
เจอกับปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน�้ำ แต่ส�ำหรับทุกชีวิต
บนโลกใบนี้ น�้ำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์
บนโลกใบนี้ ให้คิดเสมอว่าในขณะที่เราใช้น�้ำอย่างสิ้นเปลือง อาจจะ
มีคนที่ไม่มีน�้ำใช้เหมือนเรา ดังนั้น ช่วยประหยัดน�้ำกันเถอะครับ
ในอนาคตเราจะได้มีน�้ำใช้กันอย่างยาวนาน ตลอดชั่วลูกชั่วหลาน
ของเรา